6/9/54

สสส.แนะ รบ.จัดการเด็กตีกัน

    ในการเมืองมีคนเสื้อเหลือง คนเสื้อแดง ทะเลาะกันไม่เลิก ทั้งที่เป็นคนชาติเดียวกัน หากย้อนไปที่เยาวชนก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน แต่เป็นกรณีนักเรียนต่างสถาบันยกพวกตะลุมบอนกัน ผลพวงดังกล่าวยังกระทบไปถึงประชาชนทั่วไป ล่าสุดกับเหตุการณ์ที่นักเรียนจากสถาบันแห่งหนึ่งยกพวกทำร้ายร่างกายบนรถเมล์สาย 45 โดยมีการขว้างปาก้อนหิน ไม้ และพกอาวุธปืนหวังทำร้ายคู่อริ จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 12 คน นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
       ในฐานะผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลสนับสนุนการสร้างภูมิคุ้มกันในเยาวชน เพราะจากผลการสำรวจเรื่องต้นทุนชีวิต แนวคิดเชิงบวกของเยาวชน อายุ 12-25 ปี ในเดือน ต.ค.53-ม.ค.54 ใน 70 ชุมชนทั่วประเทศ พบว่าสิ่งที่มีปัญหาคือจิตสำนึก ไม่ใช่ทักษะชีวิตเท่านั้น
เดิมกระทรวงศึกษาธิการได้เข้ามาดำเนินการเรื่องทักษะชีวิตของเด็ก แต่ต้องเพิ่มเรื่องของจิตสำนึกเข้าไป แต่เมื่อเทียบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและเหตุการณ์จลาจลในประเทศอังกฤษจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ กลุ่มวัยรุ่นชักชวน นัดแนะ ผ่านระบบสื่อสารออนไลน์ ซึ่งเห็นได้ว่าไม่ใช่เพียงเยาวชนเท่านั้นที่จิตสำนึกอ่อนแอ แต่ทุกคน ทุกองค์กร ขาดจิตสำนึก ดังนั้นต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าเกิดจากตัวของเด็กเองหรือเกิดจากครอบครัว เพราะหากเกิดจากครอบครัว แต่เรามาซ่อมที่ตัวเด็ก ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
       ด้าน พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า จากการวิจัยปัจจัยและกลไกการเกิดพฤติกรรมรุนแรง โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พบว่า เกิดจากความคิดทัศนคติ ค่านิยมเรื่องความรุน แรง ศักดิ์ศรี วัฒนธรรม และอำนาจนิยมเป็นสาเหตุหลักกว่า 60-80%
ส่วนเรื่องการดื่มสุรา สารเสพติด เสี่ยงเป็นผู้กระทำ 9-20 เท่า ติดเกม 3.5 เท่า สื่อเป็นตัวกระตุ้นหรือทำให้เลียนแบบเสี่ยง 2.3 เท่า ความรุนแรงของผู้ใหญ่ในสังคมเสี่ยง 1.7 เท่า และครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงเข้มงวด ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมรุนแรง 1.3 เท่า
ซึ่งอาจต้องใช้กระบวนการทางกฎ หมายมาช่วยแก้ ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งในการฝึกความอดทนและระเบียบวินัยของเด็ก ส่วนเด็กที่มีความเสี่ยงควรมีการส่งเสริมป้องกัน โดยให้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมที่เสริมสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง ส่วนพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและเข้าใจธรรมชาติของเด็ก เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนา  EQ โดยเฉพาะด้านการควบคุมอารมณ์ การเสริมทักษะชีวิตมากขึ้น.


ในการเมืองมีคนเสื้อเหลือง คนเสื้อแดง ทะเลาะกันไม่เลิก ทั้งที่เป็นคนชาติเดียวกัน หากย้อนไปที่เยาวชนก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน แต่เป็นกรณีนักเรียนต่างสถาบันยกพวกตะลุมบอนกัน ผลพวงดังกล่าวยังกระทบไปถึงประชาชนทั่วไป ล่าสุดกับเหตุการณ์ที่นักเรียนจากสถาบันแห่งหนึ่งยกพวกทำร้ายร่างกายบนรถเมล์สาย 45 โดยมีการขว้างปาก้อนหิน ไม้ และพกอาวุธปืนหวังทำร้ายคู่อริ จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 12 คน
นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ในฐานะผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลสนับสนุนการสร้างภูมิคุ้มกันในเยาวชน เพราะจากผลการสำรวจเรื่องต้นทุนชีวิต แนวคิดเชิงบวกของเยาวชน อายุ 12-25 ปี ในเดือน ต.ค.53-ม.ค.54 ใน 70 ชุมชนทั่วประเทศ พบว่าสิ่งที่มีปัญหาคือจิตสำนึก ไม่ใช่ทักษะชีวิตเท่านั้น
เดิมกระทรวงศึกษาธิการได้เข้ามาดำเนินการเรื่องทักษะชีวิตของเด็ก แต่ต้องเพิ่มเรื่องของจิตสำนึกเข้าไป แต่เมื่อเทียบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและเหตุการณ์จลาจลในประเทศอังกฤษจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ กลุ่มวัยรุ่นชักชวน นัดแนะ ผ่านระบบสื่อสารออนไลน์ ซึ่งเห็นได้ว่าไม่ใช่เพียงเยาวชนเท่านั้นที่จิตสำนึกอ่อนแอ แต่ทุกคน ทุกองค์กร ขาดจิตสำนึก ดังนั้นต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าเกิดจากตัวของเด็กเองหรือเกิดจากครอบครัว เพราะหากเกิดจากครอบครัว แต่เรามาซ่อมที่ตัวเด็ก ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น